Why Nostr? What is Njump?
2024-07-07 06:21:10

"สเตอรอลในร่างกาย: มองให้ลึกกว่าคอเลสเตอรอล"

This is a long form article, you can read it in https://habla.news/a/naddr1qvzqqqr4gupzpv6tgsyzf4gha3x6dtr87vvhm0ylq0vz6u8aadl5kausnwk0h9n8qqxnzdejxqerxwf48ymnwvesrfnzzg

“สเตอรอลในร่างกาย: มองให้ลึกกว่าคอเลสเตอรอล”

แม้ทุกวันนี้เริ่มมีข้อมูลมากมายว่า คอเลสเตอรอลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของโรคหลอดเลือดและหัวใจ เเต่ในกระแสสื่อหลัก ก็ยังคงเล่นประเด็นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง และแน่นอนก็มีงานวิจัยที่ถูกกล่าวอ้างใหม่ๆที่พยายามหาทางเลือกในการพยายามลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งถูกยกเป็นเป้าหมายสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมาเป็นเวลานานแล้ว

ส่งผลให้หนึ่งทางเลือก คือ สเตอรอลจากพืช (plant sterols/phytosterols) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในฐานะทางเลือกธรรมชาติสำหรับการลดคอเลสเตอรอล โดยเชื่อว่า สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำงานดังนี้:

  • สเตอรอลจากพืชเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล
  • พวกมันแข่งขันกับคอเลสเตอรอลในการดูดซึมที่ลำไส้
  • สเตอรอลจากพืชจะเข้าไปแทนที่คอเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นบางส่วน

image

อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดและข้อมูลจากโรคหายากกำลังท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับบทบาทของสเตอรอลจากพืช ต่อร่างกายของเรา

จากบทความ ของ Zoë Harcombe and Julien S. Baker ตีพิมพ์ใน Online Journal of Biological Sciences ปี 2014 ในหัวข้อ “ PLANT STEROLS LOWER CHOLESTEROL, BUT INCREASE RISK FOR CORONARY HEART DISEASE “ ( https://thescipub.com/abstract/ojbsci.2014.167.169 )

 image

พบว่า สเตอรอลจากพืชสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จริง โดยประเด็นหลักๆของบทความ คือ:

  1. สเตอรอลจากพืชสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้จริง แต่ไม่มีหลักฐานว่าช่วยลดความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดหัวใจ (CHD)
  2. มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าระดับสเตอรอลจากพืชที่สูงขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ CHD และอัตราการเสียชีวิต
  3. มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อมะเร็งด้วย แม้จะมีหลักฐานจำกัด
  4. รายงานจาก European Food Safety Authority ได้ระบุว่า”ไม่มีการศึกษาแทรกแซงในมนุษย์ที่แสดงให้เห็นว่าสเตอรอลจากพืชลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ”
  5. สหภาพยุโรปได้ออกคำเตือนว่าผลิตภัณฑ์ที่เสริมสเตอรอลจากพืชไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมระดับคอเลสเตอรอล

บทความเน้นย้ำว่า เป้าหมายควรเป็นการปรับปรุงผลลัพธ์ทางสุขภาพจริงๆ ไม่ใช่แค่การลดตัวชี้วัดทางการแพทย์เท่านั้น ซึ่งจากประเด็นหลักของบทความทำให้พบว่างานวิจัยโดยส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่เรื่องของการลดปริมาณคอเลสเตอรอลแต่ไม่ได้มองไปถึงการเกิดอุบัติการณ์ของโรคอย่างแท้จริง ใช้เพียงตัวชี้วัดคือการลดลงของคอเลสเตอรอลแล้วสรุปว่าช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยง

ซึ่งถือว่าเป็นการ++”คาดการณ์”++บนพื้นฐานทางทฤษฎีของความรู้ทางชีวเคมีและสรีรวิทยา ไม่ได้ศึกษาถึงประโยชน์ผลกระทบโดยตรง แต่เมื่อศึกษาถึงอุบัติการณ์ของโรคจริงๆ กลับพบว่าผลลัพธ์นั้น++”ตรงกันข้าม”++จากข้อสรุปก่อนหน้านั้นก็คือมี การเพิ่มความเสี่ยงต่อ CHD และอัตราการเสียชีวิต

โดยตัวบทความได้อ้างอิงงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงเหล่านี้:

  1. Rajaratnam et al. (2000) พบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีระดับสเตอรอลจากพืชสูงมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น
  2. Sudhop et al. (2002) สรุปว่าสเตอรอลจากพืชอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมสำหรับ CHD
  3. Assmann et al. (2006) รายงานว่าระดับ sitosterol (ชนิดหนึ่งของสเตอรอลจากพืช) ที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับการเกิดเหตุการณ์หัวใจที่สำคัญในผู้ชายที่มีความเสี่ยงสูงต่อ CHD
  4. Silbernagel et al. (2010) พบว่าการดูดซึมสเตอรอลจากพืชสูงและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลต่ำทำนายอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและจากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ บทความยังกล่าวถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในผู้ชาย แม้ว่าจะมีหลักฐานจำกัดก็ตาม

และเมื่อเราได้รู้จัก โรคหายากอย่าง Sitosterolemia ซึ่งกำลังเปิดเผยให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการสะสมสเตอรอลจากพืชมากเกินไป

Sitosterolemia เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายากมาก เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการขับสเตอรอลจากพืชออกจากร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการสะสมสเตอรอลจากพืชในเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ มากเกินไป ซึ่งปกติร่างกายจะดูดซึมเพียงเล็กน้อยแล้วขับออกอย่างรวดเร็ว

ผู้ป่วยมักมีระดับคอเลสเตอรอลและสเตอรอลจากพืชสูงตั้งแต่วัยเด็ก และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ตั้งแต่อายุยังน้อย อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) ในวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้ยังอาจพบปัญหา ข้ออักเสบ (arthritis),การขยายขนาดของตับและม้าม (hepatosplenomegaly) ,ตับอักเสบ, ภาวะโลหิตจาง (anemia) เนื่องจากการแตกของเม็ดเลือดแดง

image

การศึกษาโรค Sitosterolemia ทำให้เราตระหนักว่า การสะสมสเตอรอลจากพืชมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ เช่นเดียวกับ คอเลสเตอรอล

จึงนำไปสู่คำถามสำคัญ:

**“ทั้งสเตอรอลจากพืชและคอเลสเตอรอลสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพคล้ายกันได้ หรือ ทั้งสองอย่าง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปัญหาสุขภาพอย่างที่เราเข้าใจกัน” **

  • เป็นไปได้ไหมว่าเราตีความความสัมพันธ์ระหว่างสเตอรอลกับโรคหัวใจผิดไป โดยมองว่าเป็นสาเหตุ ทั้งที่อาจเป็นเพียงอาการแสดงของปัญหาที่ลึกกว่านั้น
  • เป็นไปได้ไหมว่า atherosclerosis และ myocardial infarction มีสาเหตุที่ซับซ้อนมากกว่าการมองแค่ระดับสเตอรอลชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • เป็นไปได้ไหมว่าอาจไม่ได้อยู่ที่สารชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นความไม่สมดุลในระบบการจัดการสเตอรอลของร่างกาย
  • เป็นไปได้ไหมที่เราจำเป็นต้องมองสุขภาพในภาพรวมมากขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นที่สารเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • เป็นไปได้ไหมว่าเราต้องมองลึกลงไปถึงกลไกพื้นฐานของการเกิดโรคมากกว่าการมุ่งเน้นที่สารใดสารหนึ่ง

และเมื่อเรามาดูกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อทั้งสอง sterol

 image

จะเห็นว่า จริงๆแล้วร่างกายเราไม่ชอบ plant sterol ด้วยซ้ำ เพราะเมื่อทั้งสองsterol เข้ามาในลำไส้ จะพบว่า ร่างกายเลือกจะขับเอา plant sterol ส่วนใหญ่ ออกจากร่างกายโดยมี cholesterol ออกไปด้วยเล็กน้อย ในขณะที่ cholesterol ส่วนใหญ่ร่างกายนำเข้าร่างกายมีเพียง plant sterol ส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้เข้าไป

หรือจริงๆแล้ว ร่างกายไม่ได้ต้องการ plant sterol มาก แต่ร่างกายต้องการ cholesterol เป็นหลัก แล้วร่างกายเราต้องใช้ cholesterol ในการช่วยขับ plant sterol ออกจากร่างกาย ทำให้เราสูญเสีย cholersterol ไป

แล้วตามข้อมูลที่พวกเรารู้ว่า Cholesterol จริงๆแล้วสำคัญยังไง เมื่อถูกเอาไปใช้ในการขับ plant sterol ทำให้ได้รับ Cholesterol น้อยลง จึงส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงและอัตราการเสียชีวิต ตามบทความที่เอามาลง

image

การค้นพบเหล่านี้เน้นย้ำให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสเตอรอลกับสุขภาพนั้นซับซ้อนกว่าที่เคยเข้าใจ การมุ่งเน้นเพียงการลดหรือเพิ่มสารใดสารหนึ่งอาจไม่เพียงพอในการป้องกันโรค เราจำเป็นต้องมองภาพรวมของสุขภาพ และพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ท้ายที่สุด บทเรียนสำคัญที่ได้รับคือ แม้แต่สารที่มาจากธรรมชาติก็อาจมีผลกระทบที่ซับซ้อนและไม่คาดคิดต่อร่างกาย การดูแลสุขภาพที่ดีจึงควรอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งหมดไม่ใช่การคาดการณ์บนพื้นฐานทางทฤษฎีของความรู้ทางชีวเคมีและสรีรวิทยา ไม่ได้ศึกษาถึงประโยชน์ผลกระทบโดยตรง การวิจัยในอนาคตควรมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจกลไกพื้นฐานของการเกิดโรค มากกว่าการมุ่งเน้นที่การควบคุมตัวชี้วัดทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว

Author Public Key
npub1kd95gzpy65t7cndx43nlxxtahj0s8kpdwr77kl6tw7gfht8mjensyh5l62