Why Nostr? What is Njump?
2023-09-15 03:30:27

RightShiftCuration on Nostr: ...



หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ประเทศโลกที่สาม" - แฉความระยำตำบอนขององค์กรสร้างภาพเหล่านี้กันต่อ 🇹🇭 #Siamstr #FuckIMF

อ่านได้ที่ 😎👍⚡
🟪 Yakihonne| https://w3.do/zmXBb_n8
🟪 Habla | https://w3.do/99V88YdL

4. กับดักหนี้

“แนวความคิดเรื่องประเทศโลกที่สามหรือประเทศที่กำลังพัฒนา และนโยบายให้ความช่วยเหลือทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก มันเป็นเหมือนด้านสองด้านของเหรียญเดียวกัน โดยสิ่งที่เราเรียกว่าประเทศโลกที่สามนั้นเกิดขึ้นจากการที่เราสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ” หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าประเทศโลกที่สาม”

–Péter Tamás Bauer

ธนาคารโลกได้ระบุไว้ว่าจุดประสงค์ของพวกเขาคือ “เพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยส่งถ่ายทรัพยากรด้านการเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา”

แต่ในความเป็นจริงแล้วมันตรงกันข้ามกันหรือเปล่า?

ในตอนแรกของช่วงต้นยุค 1960 มีการไหลของทรัพยากรจำนวนมหาศาลจากประเทศที่ร่ำรวยสู่ประเทศที่ยากจน ซึ่งนี่เป็นการทำเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุณ Payer ได้เขียนว่ามันเป็นสิ่งที่เรารับรู้กันมานานว่ามันคือ “ธรรมชาติ” ที่เงินทุนนั้น “จะไหลจากระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่เหล่าประเทศโลกที่สาม”

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “วงจรชีวิตเงินกู้ของธนาคารโลก” ประเทศผู้กู้มีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นติดลบอย่างหนัก* - *เส้นสีส้ม : เงินที่ใช้จ่ายภาระหนี้สิน (จำนวนที่ไหลออก)* - *เส้นสีเทา : อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (หมายเหตุผู้แปล : คืออัตราส่วนเงินชำระหนี้สินต่อรายได้)* - *เส้นสีครีม : การไหลของเงินทุนทั้งหมด (ที่ไหลเข้า)* - *เส้นสีดำ : การไหลของเงินทุนสุทธิ* - *แกนแนวตั้งด้านซ้าย : หน่วยมูลค่า ล้านดอลลาร์* - *แกนแนวตั้งด้านขวา : หน่วยของอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้* - *แกนแนวนอน : ระยะเวลา หน่วยปี*

- *แหล่งที่มา : หนังสือ “Lent and Lost” โดย Cheryl Payer*

อย่างไรก็ตาม เธอได้ชี้ให้เห็นว่า “ถึงจุดหนึ่งผู้กู้จำเป็นต้องจ่ายเงินให้เจ้าหนี้มากกว่าเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้ และส่วนเกินที่ต้องจ่ายตลอดช่วงอายุของเงินกู้นี้มีมูลค่าสูงกว่าเงินกู้เดิมที่ผู้กู้ได้รับด้วยซ้ำ”

ในระบบเศรษฐกิจโลกนั้น จุดนี้เกิดขึ้นในปี 1982 เมื่อทิศทางการไหลของทรัพยากรเปลี่ยนทิศอย่างถาวร โดยตั้งแต่จุดนั้นเป็นต้นมา กระแสเงินทุนสุทธิของทุกปีได้ไหลจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิจากประเทศที่กำลังพัฒนา” ติดลบมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 1982* - *เส้นสีส้ม : ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิ (ค่าติดลบ หมายถึง การไหลออก) ให้เทียบกับแกนแนวตั้งด้านซ้าย* - *เส้นสีดำ : ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิ (ร้อยละต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP))* - *แกนแนวตั้งด้านซ้าย : หน่วยมูลค่าพันล้านดอลลาร์* - *แกนแนวตั้งขวา : ร้อยละต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)* - *แกนแนวนอน : ปี*

- *แหล่งที่มา : Financial Flow and Tax Havens*

โดยจะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพในแต่ละปี เช่น ในปี 2012 ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ ความช่วยเหลือและการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปีเดียวกันกลับมีเงินไหลออกถึง 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ พูดอีกนัยหนึ่งตามที่นักมานุษยวิทยาอย่างคุณ Jason Hickel ได้กล่าวไว้ว่า “กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่งเงินกลับไปยังประเทศอื่น ๆ ในโลกมากกว่าที่ตัวเองได้รับถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ”

เมื่อเรารวมจำนวนเงินที่ไหลออกนับตั้งแต่ปี 1960 ถึง 2017 ความจริงที่น่าขนลุกก็จะปรากฏ นั่นคือเหล่าประเทศกำลังพัฒนาถูกสูบเงินออกไปกว่า 62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 620 เท่าของเงินที่ใช้ในแผนมาร์แชลล์ หลังปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว


หมายเหตุผู้แปล : แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าแผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้แก่ยุโรปตะวันตก ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันตก

แทนที่ธนาคารโลกและ IMF ควรเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาดุลการชำระเงิน และช่วยให้ประเทศที่ยากจนเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนมากขึ้น แต่หลักฐานกลับชี้ไปในสิ่งที่ตรงกันข้าม

“สำหรับเงินความช่วยเหลือทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐที่เหล่าประเทศกำลังพัฒนาได้รับ” คุณ Hickel ได้เขียนไว้ว่า “พวกเขาจะมีเงินไหลออกสุทธิ 24 ดอลลาร์สหรัฐ” และแทนที่การเอารัดเอาเปรียบและการแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นธรรมจะยุติลง การศึกษาวิจัยกลับยิ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายการปรับโครงสร้างทำให้สิ่งเหล่านี้เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยตั้งแต่ปี 1970 หนี้สาธารณะจากต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 8.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา กลุ่มประเทศอย่างอินเดีย ฟิลิปปินส์ และคองโก ต่างก็ติดหนี้อดีตเจ้าอาณานิคมเดิมของพวกเขาถึง 189 เท่าจากที่เคยติดในช่วงปี 1970 และแค่มูลค่าดอกเบี้ยที่พวกเขาจ่ายนับตั้งแต่ปี 1980 ก็เป็นจำนวนเงินถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าให้แล้ว (หรือเป็นตัวเลข 4,200,000,000,000 ดอลลาร์!)

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “การเพิ่มจำนวนแบบทวีคูณในหนี้สินของประเทศที่กำลังพัฒนา” การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินจากต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด นับตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2012 (หน่วยพันล้านดอลลาร์สหรัฐ)* - *แกนแนวตั้ง : หน่วยมูลค่า พันล้านดอลลาร์* - *แนวนอน : ปี*

- *แหล่งที่มา : Financial Flow and Tax Havens*

แม้แต่คุณ Payer ผู้ซึ่งเขียนหนังสือกับดักหนี้ (The Debt Trap) ในปี 1974 ที่เคยใช้ข้อมูลการไหลเวียนของระบบเศรษฐกิจเพื่อแสดงให้เห็นว่า "IMF ทำให้ประเทศที่ยากจนติดกับดัก โดยยุยงให้พวกเขากู้ยืมเงินมากกว่าที่พวกเขาจะสามารถใช้คืนได้" เธอก็คงจะช็อกกับขนาดอันมหึมาของกับดักที่เรียกว่า "หนี้สิน" ในทุกวันนี้

ข้อสังเกตของเธอที่ว่า “ประชากรโดยทั่วไปของสหรัฐฯ หรือยุโรป อาจจะไม่เคยได้รับรู้ถึงมหกรรมการสูบเงินทุนขนาดใหญ่จากดินแดนที่พวกเขาคิดว่าเต็มไปด้วยผู้คนยากจนที่น่าสงสาร” นั้นก็ยังคงเป็นจริงจนถึงทุกวันนี้ โดยถือเป็นเรื่องน่าละอายสำหรับทางผู้เขียนเช่นกัน โดยก่อนที่จะได้ทำการค้นคว้าสำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ผู้เขียนเองก็ไม่เคยรับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับการไหลของเงินทุนบนโลก และคิดเอาเองว่าชาติที่ร่ำรวยต่างก็คอยช่วยเหลือชาติที่ยากจน ทั้งที่ผลลัพธ์สุดท้ายของเรื่องนี้ช่างไม่ต่างอะไรกับ "แชร์ลูกโซ่" ประเภทหนึ่งเลยจริง ๆ ซึ่งก็คือนับตั้งแต่ช่วงยุค 1970 เป็นต้นมา หนี้สินของเหล่าประเทศโลกที่สามนั้นมหาศาลมาก.. มากเสียจนหนทางเดียวที่พวกเขาจะมีปัญญาหาเงินมาจ่ายคืนได้คือการสร้างหนี้ก้อนใหม่เพื่อมาใช้หนี้ก้อนเก่า

และน่าเศร้าที่มันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดมา

ผู้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับธนาคารโลกและ IMF หลายท่านสันนิษฐานว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ทำงานโดยมีความตั้งใจที่ดี ถ้าพวกเขาล้มเหลวก็เป็นเพราะมีสิ่งที่ผิดพลาด หรือเกิดสิ่งที่ไร้ประโยชน์บางอย่างในระบบ หรือไม่ก็เป็นเพราะการบริหารที่ผิดพลาด

image

ซึ่งบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่าข้ออ้างเหล่านั้นไม่ใช่ความจริง และจริง ๆ แล้วเป้าหมายพื้นฐานของธนาคารโลกและ IMF นั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาความยากจน แต่เป็นการทำให้ชาติเจ้าหนี้ร่ำรวยขึ้นด้วยการกดขี่ให้ชาติที่ยากจนต้องรับภาระ ทางผู้เขียนเองก็ไม่อาจเชื่อว่าการไหลของเงินทุนจากประเทศที่ยากจนไปสู่ประเทศที่ร่ำรวยอย่างถาวรนับตั้งแต่ปี 1982 นั้นจะเป็นเพียงแค่ “ความผิดพลาด” ซึ่งผู้อ่านอาจจะโต้แย้งได้ในประเด็นที่ว่าผลลัพธ์เหล่านี้เกิดจากความจงใจ และอาจจะยังเชื่อว่าผลลัพธ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างเหล่านี้แทบจะไม่สำคัญอะไรเลย เมื่อพิจารณาถึงคนนับพันล้านคนที่ธนาคารโลกและ IMF ทำให้พวกเขามีชีวิตที่ยากจนข้นแค้นกว่าในอดีต..

⚡️ กด Zap ที่ลิงก์นี้ เพื่อเป็นกำลังใจทีมงานผู้เรียบเรียงบทความ

(ทุกยอด zap จะถูกแบ่งอัตโนมัติเข้าวอลเล็ทของผู้เขียนบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ, ผู้แปลดราฟต์ 1, ผู้เรียบเรียงดราฟต์ 2-3, กองบรรณาธิการและพิสูจน์อักษรจากไรท์ชิฟต์ พร้อมกันบางส่วนไว้เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรม)


#IMF #WORLDBANK #RIGHTSHIFT
#RiGHTSHIFTCURATION

4. กับดักหนี้

“แนวความคิดเรื่องประเทศโลกที่สามหรือประเทศที่กำลังพัฒนา และนโยบายให้ความช่วยเหลือทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก มันเป็นเหมือนด้านสองด้านของเหรียญเดียวกัน โดยสิ่งที่เราเรียกว่าประเทศโลกที่สามนั้นเกิดขึ้นจากการที่เราสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ” หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าประเทศโลกที่สาม”

–Péter Tamás Bauer

ธนาคารโลกได้ระบุไว้ว่าจุดประสงค์ของพวกเขาคือ “เพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยส่งถ่ายทรัพยากรด้านการเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา”

แต่ในความเป็นจริงแล้วมันตรงกันข้ามกันหรือเปล่า?

ในตอนแรกของช่วงต้นยุค 1960 มีการไหลของทรัพยากรจำนวนมหาศาลจากประเทศที่ร่ำรวยสู่ประเทศที่ยากจน ซึ่งนี่เป็นการทำเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุณ Payer ได้เขียนว่ามันเป็นสิ่งที่เรารับรู้กันมานานว่ามันคือ “ธรรมชาติ” ที่เงินทุนนั้น “จะไหลจากระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่เหล่าประเทศโลกที่สาม”

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “วงจรชีวิตเงินกู้ของธนาคารโลก” ประเทศผู้กู้มีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นติดลบอย่างหนัก* - *เส้นสีส้ม : เงินที่ใช้จ่ายภาระหนี้สิน (จำนวนที่ไหลออก)* - *เส้นสีเทา : อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (หมายเหตุผู้แปล : คืออัตราส่วนเงินชำระหนี้สินต่อรายได้)* - *เส้นสีครีม : การไหลของเงินทุนทั้งหมด (ที่ไหลเข้า)* - *เส้นสีดำ : การไหลของเงินทุนสุทธิ* - *แกนแนวตั้งด้านซ้าย : หน่วยมูลค่า ล้านดอลลาร์* - *แกนแนวตั้งด้านขวา : หน่วยของอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้* - *แกนแนวนอน : ระยะเวลา หน่วยปี*

- *แหล่งที่มา : หนังสือ “Lent and Lost” โดย Cheryl Payer*

อย่างไรก็ตาม เธอได้ชี้ให้เห็นว่า “ถึงจุดหนึ่งผู้กู้จำเป็นต้องจ่ายเงินให้เจ้าหนี้มากกว่าเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้ และส่วนเกินที่ต้องจ่ายตลอดช่วงอายุของเงินกู้นี้มีมูลค่าสูงกว่าเงินกู้เดิมที่ผู้กู้ได้รับด้วยซ้ำ”

ในระบบเศรษฐกิจโลกนั้น จุดนี้เกิดขึ้นในปี 1982 เมื่อทิศทางการไหลของทรัพยากรเปลี่ยนทิศอย่างถาวร โดยตั้งแต่จุดนั้นเป็นต้นมา กระแสเงินทุนสุทธิของทุกปีได้ไหลจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิจากประเทศที่กำลังพัฒนา” ติดลบมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 1982* - *เส้นสีส้ม : ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิ (ค่าติดลบ หมายถึง การไหลออก) ให้เทียบกับแกนแนวตั้งด้านซ้าย* - *เส้นสีดำ : ปริมาณการไหลของทรัพยากรสุทธิ (ร้อยละต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP))* - *แกนแนวตั้งด้านซ้าย : หน่วยมูลค่าพันล้านดอลลาร์* - *แกนแนวตั้งขวา : ร้อยละต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)* - *แกนแนวนอน : ปี*

- *แหล่งที่มา : Financial Flow and Tax Havens*

โดยจะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพในแต่ละปี เช่น ในปี 2012 ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ ความช่วยเหลือและการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปีเดียวกันกลับมีเงินไหลออกถึง 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ พูดอีกนัยหนึ่งตามที่นักมานุษยวิทยาอย่างคุณ Jason Hickel ได้กล่าวไว้ว่า “กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่งเงินกลับไปยังประเทศอื่น ๆ ในโลกมากกว่าที่ตัวเองได้รับถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ”

เมื่อเรารวมจำนวนเงินที่ไหลออกนับตั้งแต่ปี 1960 ถึง 2017 ความจริงที่น่าขนลุกก็จะปรากฏ นั่นคือเหล่าประเทศกำลังพัฒนาถูกสูบเงินออกไปกว่า 62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 620 เท่าของเงินที่ใช้ในแผนมาร์แชลล์ หลังปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว


หมายเหตุผู้แปล : แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าแผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้แก่ยุโรปตะวันตก ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันตก

แทนที่ธนาคารโลกและ IMF ควรเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาดุลการชำระเงิน และช่วยให้ประเทศที่ยากจนเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนมากขึ้น แต่หลักฐานกลับชี้ไปในสิ่งที่ตรงกันข้าม

“สำหรับเงินความช่วยเหลือทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐที่เหล่าประเทศกำลังพัฒนาได้รับ” คุณ Hickel ได้เขียนไว้ว่า “พวกเขาจะมีเงินไหลออกสุทธิ 24 ดอลลาร์สหรัฐ” และแทนที่การเอารัดเอาเปรียบและการแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นธรรมจะยุติลง การศึกษาวิจัยกลับยิ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายการปรับโครงสร้างทำให้สิ่งเหล่านี้เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยตั้งแต่ปี 1970 หนี้สาธารณะจากต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 8.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา กลุ่มประเทศอย่างอินเดีย ฟิลิปปินส์ และคองโก ต่างก็ติดหนี้อดีตเจ้าอาณานิคมเดิมของพวกเขาถึง 189 เท่าจากที่เคยติดในช่วงปี 1970 และแค่มูลค่าดอกเบี้ยที่พวกเขาจ่ายนับตั้งแต่ปี 1980 ก็เป็นจำนวนเงินถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าให้แล้ว (หรือเป็นตัวเลข 4,200,000,000,000 ดอลลาร์!)

image

*คำอธิบายแผนภูมิ : “การเพิ่มจำนวนแบบทวีคูณในหนี้สินของประเทศที่กำลังพัฒนา” การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินจากต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด นับตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2012 (หน่วยพันล้านดอลลาร์สหรัฐ)* - *แกนแนวตั้ง : หน่วยมูลค่า พันล้านดอลลาร์* - *แนวนอน : ปี*

- *แหล่งที่มา : Financial Flow and Tax Havens*

แม้แต่คุณ Payer ผู้ซึ่งเขียนหนังสือกับดักหนี้ (The Debt Trap) ในปี 1974 ที่เคยใช้ข้อมูลการไหลเวียนของระบบเศรษฐกิจเพื่อแสดงให้เห็นว่า "IMF ทำให้ประเทศที่ยากจนติดกับดัก โดยยุยงให้พวกเขากู้ยืมเงินมากกว่าที่พวกเขาจะสามารถใช้คืนได้" เธอก็คงจะช็อกกับขนาดอันมหึมาของกับดักที่เรียกว่า "หนี้สิน" ในทุกวันนี้

ข้อสังเกตของเธอที่ว่า “ประชากรโดยทั่วไปของสหรัฐฯ หรือยุโรป อาจจะไม่เคยได้รับรู้ถึงมหกรรมการสูบเงินทุนขนาดใหญ่จากดินแดนที่พวกเขาคิดว่าเต็มไปด้วยผู้คนยากจนที่น่าสงสาร” นั้นก็ยังคงเป็นจริงจนถึงทุกวันนี้ โดยถือเป็นเรื่องน่าละอายสำหรับทางผู้เขียนเช่นกัน โดยก่อนที่จะได้ทำการค้นคว้าสำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ผู้เขียนเองก็ไม่เคยรับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับการไหลของเงินทุนบนโลก และคิดเอาเองว่าชาติที่ร่ำรวยต่างก็คอยช่วยเหลือชาติที่ยากจน ทั้งที่ผลลัพธ์สุดท้ายของเรื่องนี้ช่างไม่ต่างอะไรกับ "แชร์ลูกโซ่" ประเภทหนึ่งเลยจริง ๆ ซึ่งก็คือนับตั้งแต่ช่วงยุค 1970 เป็นต้นมา หนี้สินของเหล่าประเทศโลกที่สามนั้นมหาศาลมาก.. มากเสียจนหนทางเดียวที่พวกเขาจะมีปัญญาหาเงินมาจ่ายคืนได้คือการสร้างหนี้ก้อนใหม่เพื่อมาใช้หนี้ก้อนเก่า

และน่าเศร้าที่มันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดมา

ผู้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับธนาคารโลกและ IMF หลายท่านสันนิษฐานว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ทำงานโดยมีความตั้งใจที่ดี ถ้าพวกเขาล้มเหลวก็เป็นเพราะมีสิ่งที่ผิดพลาด หรือเกิดสิ่งที่ไร้ประโยชน์บางอย่างในระบบ หรือไม่ก็เป็นเพราะการบริหารที่ผิดพลาด

image

ซึ่งบทความนี้ตั้งสมมติฐานว่าข้ออ้างเหล่านั้นไม่ใช่ความจริง และจริง ๆ แล้วเป้าหมายพื้นฐานของธนาคารโลกและ IMF นั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาความยากจน แต่เป็นการทำให้ชาติเจ้าหนี้ร่ำรวยขึ้นด้วยการกดขี่ให้ชาติที่ยากจนต้องรับภาระ ทางผู้เขียนเองก็ไม่อาจเชื่อว่าการไหลของเงินทุนจากประเทศที่ยากจนไปสู่ประเทศที่ร่ำรวยอย่างถาวรนับตั้งแต่ปี 1982 นั้นจะเป็นเพียงแค่ “ความผิดพลาด” ซึ่งผู้อ่านอาจจะโต้แย้งได้ในประเด็นที่ว่าผลลัพธ์เหล่านี้เกิดจากความจงใจ และอาจจะยังเชื่อว่าผลลัพธ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างเหล่านี้แทบจะไม่สำคัญอะไรเลย เมื่อพิจารณาถึงคนนับพันล้านคนที่ธนาคารโลกและ IMF ทำให้พวกเขามีชีวิตที่ยากจนข้นแค้นกว่าในอดีต..

⚡️ กด Zap ที่ลิงก์นี้ เพื่อเป็นกำลังใจทีมงานผู้เรียบเรียงบทความ

(ทุกยอด zap จะถูกแบ่งอัตโนมัติเข้าวอลเล็ทของผู้เขียนบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ, ผู้แปลดราฟต์ 1, ผู้เรียบเรียงดราฟต์ 2-3, กองบรรณาธิการและพิสูจน์อักษรจากไรท์ชิฟต์ พร้อมกันบางส่วนไว้เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรม)


Author Public Key
npub1l2cp3t052ljhqnt2emsq5py30qqppj3pytprppc4ygjznhv6lzws99ye04