Why Nostr? What is Njump?
2024-06-07 05:17:42

pangolin’s on Nostr: กรี๊ดด.. why i just saw this! 🥹 อจ. Saif มาเองเลย ...

กรี๊ดด.. why i just saw this! 🥹
อจ. Saif มาเองเลย


ช่องทางไปฟังย้อนหลัง
https://youtu.be/iq_qCkAhVZk?si=lfXvc955I2aQI1KE

และ โน้ตสรุป

ที่มา
https://x.com/saifedean/status/1796370031082917921?s=61&t=KWqMil_e2cxGpB3eJPpAvQ

#siamstr
#แอคหลุมร้ายชิบ
JUST Economics ep 1:
by SOUP & RS team

Human action การกระทำปั้นโลก
จากหนังสือ Principles of Economics
โดย Saifedean Ammous

เนื้อหาเปรียบเสมือน แผนที่ขุมทรัพย์ 5 โซน (5 ep.)

zone 1 โซนรากฐาน (Fundamentals)
ปูพื้นฐานการเข้าใจถึงภาษาและวิธีคิดของ
เศรษฐศาสตร์ตามแบบฉบับของ
สำนักออสเตรียน (ให้ง่ายเหมือนเรียน-
ภาษาครูสมศรี พี่ซุปว่างั้น lol)

zone 2 โซนผจญภัย (Economy)
สำรวจเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
นั่นคือ การกระทำของมนุษย์ในระดับปัจเจก

'ทำไมเราต้องประหยัดเหมือนกับการเล่นเกมส์
เอาชีวิตรอดในโลกเศรษฐกิจที่ทรัพยากรมีจำกัด
แต่ความต้องการของเราไม่จำกัด'

ซึ่งการประหยัดในมุมมองของเศรษฐศาสตร์
คือการที่เราใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

zone 3 ระเบียบตลาด (The Market Order)
การประหยัดในระดับสังคม พี่ซุปจะพา
ดูการทำงานของตลาดเหมือนดูสารคดีมด
ที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ซึ่งเราจะเข้าใจว่าทำไมทุนนิยมถึงเจ๋งขนาดนี้
และบทบาทของเงินคืออะไร

zone 4 บริหารเงิน (Monetary Economics)
เล่นกับเงิน เจาะลึกเรื่องราวของดอกเบี้ย
ระบบการเงิน การคลัง เรียนรู้กลยุทธ์ว่าเล่น
ยังไงถึงจะรวย การสร้างเมือง บริหารจัดการ-
ทรัพยากรให้ประชาชนอยู่ดีกินดีต้องทำยังไง

zone 5 อารยธรรม (Civilization)
บทสรุปของการเดินทาง ดูภาพใหญ่ของเมือง
ว่าสุดท้ายเราจะอยู่รอดได้ยังไง หากมีภัยพิบัติ
โจรหรือโรคระบาด เป็นการเชื่อมโยงเศรษฐศาสตร์
สังคม การเมือง และประวัติศาสตร์เข้ามาอยู่รวมกัน
เพื่อทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมันคือส่วนหนึ่งของ
อารยธรรมมนุษย์

_________________________________

EP 1 Fundamentals
Chapter 1: Human action เริ่มต้นกันที่รากฐาน
1.1 Action, Purpose, and Reason

Human action หรือ การกระทำของมนุษย์
มันคือ DNA ของเศรษฐศาสตร์
เพราะเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่อง
ของกราฟ หรือ ทฤษฎี แต่มันคือ 'การศึกษามนุษย์'
ซึ่งจะคิดต่างจากสัตว์ มนุษย์ตัดสินใจใช้
ทรัพยากรอันจำกัด เพื่อตอบสนองกิเลส
ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของตัวเอง

Austrian economics:
เราต้องเข้าใจความเป็นมนุษย์ก่อน
หากอยากจะเข้าใจเศรษฐศาสตร์จริงๆ

Keynesian economics:
จำลองตัวเลขและสมการแบบซับซ้อน
เพื่อให้ตัวเลข เอาไว้บอกผลลัพธ์
ไม่ได้สนใจว่าความเป็นมนุษย์คืออะไร

Austrian economics นิยามการกระทำของมนุษย์
ว่า 'การกระทำ' คือ เจตจำนงที่นำไปปฏิบัติ
มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายเพื่อการตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าและสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมี 'สติ'
เป็นการปรับตัวของเราต่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิต

'การกระทำ' มีการใช้ความคิด มีแผนการและ
ใช้เหตุผลอยู่เบื้องหลังของการกระทำนั้นเสมอ
นั่นก็คือมี ‘จุดหมาย’ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต
เพื่อตอบสนองความต้องการที่ยังไม่สำเร็จ

ความต้องการที่ยังไม่สำเร็จ = แรงจูงใจ
แรงผลักดัน ตัวกระตุ้น เป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้มนุษย์
ไม่หยุดนิ่ง ไขว่คว้า แสวงหา ดิ้นรน เพื่อเติมเต็ม
สิ่งที่ขาดอยู่เสมอ คือ แรงขับเคลื่อนที่ทำให้โลก
ไม่หยุดหมุน

มนุษย์ซับซ้อนกว่าที่คิด

สิ่งที่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ คือ 'เหตุผล'
มนุษย์มีสมองที่ชาญฉลาด สามารถคิดวิเคราะห์
วางแผนตัดสินใจ ไม่ได้ทำตามสัญชาตญาณ
เพียงอย่างเดียว มีเหตุผลรองรับอยู่

'เหตุผล'
ทำให้มนุษย์คิดก่อนทำ ควบคุมสัญชาตญาณ
อารมณ์ และ แหล่งกระตุ้นต่างๆ

เราคิด เราเลือก และเรากระทำ
เรารู้จักยับยั้งช่างใจ ควบคุมตัวเอง และตัดสินใจ
อย่างมีเหตุผล ไม่ได้เป็นทาสของสัญชาตญาณ
หรืออารมณ์ และมีสติปัญญา คิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง
ก่อนที่จะลงมือตัดสินใจทำอะไร

เหตุผล ช่วยให้เราเอาชนะสัญชาตญาณ
และอารมณ์ดิบดิบ ทำให้เราคิดก่อนทำ
และเลือกทางที่ดีที่สุด อยู่ร่วมกันในสังคม
ได้อย่างสงบสุข

เหตุผล ทำให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากมาย
บนโลกใบนี้ ทำให้เราเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
โลกคือดินน้ำมัน ที่มนุษย์ใช้เหตุผลและจินตนาการ
ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ

คนนั่นแหละ เป็นปัจเจกบคคลที่เป็นตัวแปรสำคัญ
ถ้าอยากเข้าใจโลก ต้องศึกษาการกระทำของมนุษย์
เพราะโลกไม่ได้ถูกกำหนดโดยโชคชะตา ดวงดาว
หรือพลังลึกลับ แต่มันถูกสร้างและเปลี่ยนแปลง
โดยการกระทำของมนุษย์

ตึกสูง รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์
เกิดจากผลผลิตทางความคิด ความพยายาม
และการกระทำของมนุษย์

สงคราม ความยากจน
จนถึงมลพิษก็เกิดจากมนุษย์เช่นกัน

การกระทำของมนุษย์ คือ 'กุญแจ'
ที่จะไขความลับของโลกใบนี้

แต่.. ไม่มีใคร perfect ตลอดเวลา
ความมีเหตุผล ไม่ได้หมายถึงเรื่องความถูกต้อง
หรือความสมบูรณ์แบบ แต่มันหมายถึงมนุษย์
พยายามที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนการกระทำ
ของตัวเอง ถึงแม้ผลลัพธ์จะออกมาเละเทะก็ตาม

สิ่งที่ตรงข้ามกับการกระทำ (ที่มีเหตุผล)
คือ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบอัตโนมัติ
ที่เราควบคุมไม่ได้ เป็นสัญชาตญาณ

จริงๆ การกระทำของมนุษย์มีปัจจัย กลไกมากมาย
เข้ามาเกี่ยวข้อง คล้ายกับเศรษฐศาสตร์เลย
เราต้องวิเคราะห์กลไกที่อยู่เบื้องหลังการกระทำ
ของมนุษย์ ถึงจะเข้าใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.2 'การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ Economic Analysis'
เริ่มจากการทำความเข้าใจความหมายของ
การกระทำ สถานการณ์ที่มีผลต่อการกระทำ
และผลลัพธ์ของการกระทำ เหมือนการไขคดี
ต้องแกะรอยหาหลักฐานและเชื่อมโยงทุกอย่าง
เข้าด้วยกัน

การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจไม่ได้ดูแค่การกระทำอย่างเดียว
ต้องมองไปถึงสถานการณ์ ปัจจัย ผลกระทบ
ที่เกี่ยวข้องแบบรอบด้าน 360 องศา

Austrian economics said:
เราใช้เหตุผลตรรกะ สามัญสำนึก คิดวิเคราะห์
และสังเกต ก็สามารถเข้าใจความลับของ
เศรษฐศาสตร์ได้

1.3 Quantitative Analysis
ในทางวิทยาศาสตร์สามารถทำการทดลองที่
ทำซ้ำได้ ทำกี่ครั้งก็ได้ผลลัพธ์เหมือนเดิมทุกครั้ง
แต่ในทางเศรษฐศาสตร์มันทำแบบนั้นไม่ได้
มนุษย์แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ไม่มีสูตรสำเร็จ
ตายตัว

เศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาการกระทำของ
มนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งซับซ้อนมาก
มีปัจจัยต่างๆที่ควบคุมไม่ได้

โดยทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก พยายามที่จะใช้
ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ เช่น ตัวเลข GDP
%เงินเฟ้อ CPI อัตราดอกเบี้ย ให้ดูเหมือน
วิทยาศาสตร์ หรือวิชาที่มันซับซ้อน
ซึ่งข้อมูลที่เราวัดได้อย่างตัวเลข มันอาจไม่
ครอบคลุมกับสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะ..
ตัวเลขหลอกกันได้ เป็นแค่เปลือก
ไม่ได้บอกถึงแก่นแท้

การใช้เหตุผล สามัญสำนึก การวิเคราะห์ตรรกะ
ต่างๆ ถึงจะเข้าใจเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

1.4 A Contrast of Approaches
ตัวอย่างประเด็นร้อน *ค่าแรงขั้นต่ำ*
แบ่งออกเป็น 2 ทีมหลัก

- ทีม Mainstream quantitative economics
(Pseudoscientific quantitative approach)
มองเศรษฐกิจแบบบเหมารวม ใช้รัฐสวิสดิการ
คนงานรายได้เพิ่ม ใช้จ่ายเงินมากขึ้น
เงินจะหมุนในระบบมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดี
ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง

- ทีม Austrian praxeological economics
(Human action analysis)
มองเศรษฐกิจแบบปัจเจกบุคคล มองสิ่งที่มีผล
ต่อการตัดสินใจของนายจ้างและลูกจ้าง
นายจ้าง จ้างคนได้น้อยลง ปลดคน ธุรกิจเจ๊ง
ซวยที่สุดคือ ลูกจ้าง โดยเฉพาะเด็กจบใหม่
แรงงานไร้ฝีมือที่นายจ้างไม่กล้าจ้าง

*กฎหมายควบคุมราคา*
นักเศรษฐศาสตร์ที่มองเห็นการกระทำของมนุษย์
เป็นปัจจัยสำคัญ ว่าทุกคนพยายามที่จะทำให้
ชีวิตของตัวเองดีขึ้น ดังนั้นการจำกัดเสรีภาพ
ทางเศรษฐกิจไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้

# ทีมไหนชนะก็รู้ๆ กันอยู่ ด้วยตรรกะอันเฉียบคม
และหลักฐานทางประวัติศาสตร์

# การกระทำของมนุษย์ คือ ตัวแปรสำคัญที่สุด
ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสิ่งที่เป็น
ตัวขับเคลื่อนการกระทำของมนุษย์ให้เราต้องเลือก
สิ่งนี้มากกว่าสิ่งนั้น คือ 'คุณค่า หรือ value' นั่นเอง
(ติดตามต่อใน ep 2 ครัช)


# 'In reality, humans adjust their actions to optimize
for their own well-being, not to satisfy bureaucrats' ⚡️

# ขอบคุณพี่ซุปและทีมงาน RS
ที่จุดประกายหนังสือเล่มนี้
*/\*

#siamstr

ฟังเสียงหล่อๆ ของพี่ซุปได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=iq_qCkAhVZk&t=48s&ab_channel=RightShift

หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้นะคะ
Author Public Key
npub1hwaqxl6lh5mf5r5gly5jpjh0xfucc4ltrl7pclxqzdrfxv7a2ekqsmns92