Why Nostr? What is Njump?
2023-09-23 09:03:47

RightShiftCuration on Nostr: ตอนที่ 8 ของบทความ #FuckIMF | ...


ตอนที่ 8 ของบทความ #FuckIMF | คู่มือค้าทาสยุคใหม่ เพียงทำลายการเกษตรท้องถิ่น แล้วจัดการแทนที่มันด้วยพืชเศรษฐกิจส่งออกเพื่อส่งป้อนชาติอีลิท #Siamstr

8. ฝ้ายมันกินไม่ได้

“โครงการพัฒนาชื่นชอบพืชผลที่กินไม่ได้ เพราะจะได้นำไปขายเพื่อใช้จ่ายหนี้แทน”

–Cheryl Payer

ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยชาวโตโก คุณ Farida Nabourema ได้เจอประสบการณ์ที่น่าเศร้าด้วยตัวเอง ซึ่งตรงกับภาพรวมที่ทางธนาคารโลกและ IMF ได้วางไว้จนถึง ณ ตอนนี้

เธออธิบายว่าหลังจากช่วงยุคราคาน้ำมันเติบโตในช่วงปี 1970 มีเงินกู้ไหลเข้าประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศโตโก ซึ่งมีผู้นำที่ไร้ความรับผิดชอบ ที่ไม่แม้แต่จะคิดว่าพวกเขาจะใช้คืนเงินกู้เหล่านั้นอย่างไร เงินกู้ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรต่อผู้คนส่วนใหญ่ และมีเงินจำนวนมากถูกยักยอกออกไปเพื่อใช้ซื้อคฤหาสน์หรู เธอกล่าวว่าประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวหรือครอบครัวเดียว และเมื่ออัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นจนรัฐบาลเหล่านี้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ IMF ก็จะเริ่ม “เข้ามาควบคุม” โดยบังคับใช้มาตรการลดค่าใช้จ่าย

“ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเกิดใหม่ที่ยังเปราะบางมาก” คุณ Nabourema ได้พูดไว้ในการสัมภาษณ์สำหรับบทความนี้ “พวกเขาจำเป็นต้องลงทุนอย่างหนักในด้านโครงสร้างพื้นฐานของสังคม แบบเดียวกับที่ประเทศในยุโรปทำหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แต่กลายเป็นว่าเราเปลี่ยนสภาพจากการมีบริการดูแลสุขภาพและการศึกษาฟรี ไปสู่สถานการณ์ที่แม้แต่ยารักษาโรคขั้นพื้นฐานก็ยังแพงเกินไปสำหรับคนทั่วไป”

image

ไม่ว่าความเห็นของคุณเกี่ยวกับระบบการแพทย์และการศึกษาที่รัฐแบกภาระค่าใช้จ่ายให้จะเป็นอย่างไรก็ตาม การกำจัดมันทิ้งในชั่วข้ามคืนถือเป็นสิ่งที่สาหัสต่อประเทศที่ยากจน ซึ่งแน่นอนว่าเหล่าเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกและ IMF จะได้รับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลเอกชนที่พวกเขาเป็นเจ้าของ และยังมีโรงเรียนเอกชนของพวกเขาเองไว้สำหรับส่งลูกหลานของพวกเขาไปเรียน ในยามที่พวกเขาจำเป็นต้องไปใช้ชีวิต “ในพื้นที่นั้น ๆ”

คุณ Nabourema กล่าวว่าจากการที่ภาครัฐถูกบังคับให้ตัดรายจ่ายของโรงพยาบาลรัฐในประเทศโตโก ทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะที่ “ล่มสลายจนหมดสิ้น” มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยสิ่งนี้ต่างจากโรงพยาบาลรัฐในเมืองหลวงของอดีตเจ้าอาณานิคม เช่น ที่กรุงลอนดอนหรือกรุงปารีส ที่ภาครัฐเป็นผู้บริหารงานและได้รับการสนับสนุนจากเงินภาษีของประชาชน โดยสิ่งต่าง ๆ ในโลเมซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศโตโกนั้นย่ำแย่มากขนาดที่ว่าน้ำสะอาดยังต้องถูกสั่งจ่ายเหมือนยา

คุณ Nabourema กล่าวว่า “ยังมีกรณีของการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจแบบไม่ยั้งคิด” เธออธิบายเกี่ยวกับพ่อของเธอในช่วงที่ยังทำงานอยู่กับรัฐวิสาหกิจการผลิตเหล็กของประเทศโตโก โดยในช่วงระหว่างการแปรรูปนั้น กิจการถูกขายให้กับผู้ซื้อต่างชาติในราคาเพียงครึ่งเดียวของเม็ดเงินที่รัฐลงทุนไปตอนแรก

“มันคือการเลหลังขายชาติดี ๆ นี่เอง” เธอกล่าว

คุณ Nabourema กล่าวว่า ระบบตลาดเสรีและการปฏิรูปแบบเสรีนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อผู้เล่นทุกฝ่ายเล่นบนกติกาเดียวกัน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศโตโกที่ถูกบีบให้เล่นบนกติกาที่ต่างออกไป ซึ่งนั่นก็คือไม่ว่าประเทศของพวกเขาจะเปิดเสรีมากแค่ไหน มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เข้มงวดของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่อัดเงินสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มเกษตรกรรมของตนเองอย่างหนักได้ คุณ Nabourema ยังยกกรณีตัวอย่าง เช่น การไหลเข้ามาของเสื้อผ้าราคาถูกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกานั้นทำลายธุรกิจสิ่งทอท้องถิ่นของโตโกได้อย่างไร

เธอกล่าวว่า “เสื้อผ้าจากตะวันตกเหล่านี้ทำให้เหล่าผู้ประกอบการต้องเลิกกิจการ และทิ้งข้าวของเป็นขยะเกลื่อนชายหาดของเรา” และด้านที่แย่ที่สุดที่เธอได้กล่าวไว้ ก็คือด้านของเกษตรกรชาวไร่ ซึ่งในช่วงยุค 1980 นั้นมีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ของประชากรชาวโตโก โดยความเป็นอยู่ของพวกเขาพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ระบอบเผด็จการนั้นต้องการเงินสกุลที่แข็งแกร่งเพื่อจ่ายหนี้ของเขา ซึ่งมีอยู่วิธีเดียวคือจากการขายสินค้าส่งออก ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มโครงการขนาดใหญ่เพื่อจะขายพืชส่งออกเพื่อทำเงิน และด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลก รัฐบาลก็ลงทุนในอุตสาหกรรมปลูกฝ้ายอย่างหนัก ถึงขนาดที่ว่าตอนนี้ฝ้ายได้ครอบครองส่วนแบ่งสินค้าส่งออกของประเทศกว่าร้อยละ 50 และทำลายความมั่นคงทางอาหารของประเทศไปแล้วเรียบร้อย

image

ในช่วงก่อตั้งประเทศโตโก ธนาคารโลกได้กลายเป็น “ผู้ให้กู้ด้านเกษตรกรรมรายใหญ่ที่สุดรายเดียว” ซึ่งยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับความยากจนของพวกเขาคือการปรับการเกษตรให้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ หรือที่จริงก็คือ“การถ่ายโอนเงินทุนมหาศาล ให้ไปอยู่รูปแบบของปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์ไถดิน และที่ปรึกษาต่างชาติค่าตัวแพง”

คุณพ่อของคุณ Nabourema เองคือคนที่บอกเธอว่า พวกปุ๋ยนำเข้าและรถแทรกเตอร์ถูกดึงออกจากมือชาวไร่ที่ปลูกพืชสำหรับเป็นอาหารไว้บริโภค ไปสู่มือชาวไร่ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างฝ้าย กาแฟ โกโก้ และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยถ้ามีใครที่ปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือข้าวเดือย ซึ่งเป็นอาหารพื้นฐานของชาวโตโก พวกเขาจะเข้าไม่ถึงสินค้าทุนเหล่านั้น

“แต่ฝ้ายมันกินไม่ได้” คุณ Nabourema ย้ำเตือนเรา

เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าผู้นำทางการเมืองในประเทศอย่างโตโกและเบนิน (ซึ่งมีผู้นำเผด็จการเป็นเจ้าของธุรกิจฝ้ายขนาดใหญ่ด้วย) กลายเป็นผู้รับซื้อหลักในพืชเศรษฐกิจทั้งหมดจากทุกฟาร์ม คุณ Nabourema เสริมว่าพวกเขาผูกขาดการซื้อขาย และจะรับซื้อในราคาที่ต่ำมากจนชาวบ้านแทบจะไม่ได้กำไร ระบบทั้งหมดที่เรียกว่า ”sotoco” ในประเทศโตโกนี้ตั้งอยู่บนเงินทุนที่ทางธนาคารโลกมอบให้

image

“ยามที่ชาวไร่ลุกขึ้นประท้วง” เธอกล่าวว่า “พวกเขาจะถูกซ้อมหรือไม่ฟาร์มของพวกเขาก็จะถูกเผาจนเป็นซาก พวกเขาสามารถเลือกที่จะปลูกอาหารแบบปกติและหาเลี้ยงครอบครัวของพวกเขาก็ได้ เหมือนที่ทำกันมาหลายชั่วอายุคน แต่ทว่าตอนนี้พวกเขาไม่มีปัญญาจะหาซื้อที่ดินได้อีกแล้ว เพราะพวกผู้นำทางการเมืองได้กว้านซื้อที่ดินอย่างอุกอาจ บ่อยครั้งด้วยก็ซื้อด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย และดันราคาที่ดินให้พุ่งทะยาน”

คุณ Nabourema ได้อธิบายตัวอย่างเพิ่มว่ารัฐบาลโตโกยึดที่ดินกว่า 2,000 เอเคอร์ได้อย่างไร โดยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างจากในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเสรี (เช่น ในประเทศฝรั่งเศสที่สร้างอารยธรรมด้วยการปล้นทรัพยากรประเทศโตโก) ที่โตโกกระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยรัฐบาล จึงไม่มีทางที่คุณจะต่อสู้กลับได้เลย ดังนั้นชาวไร่ผู้ซึ่งเคยมีอำนาจตัดสินใจในชีวิตของตัวเอง ตอนนี้กลับถูกบีบให้กลายเป็นคนงานในที่ดินของคนอื่น เพื่อช่วยปลูกฝ้ายส่งออกให้กับประเทศร่ำรวยที่อยู่ห่างไกล และเรื่องตลกร้ายที่น่าเศร้าที่สุดคือต้นฝ้ายจำนวนมหาศาลถูกปลูกทางตอนเหนือของประเทศโตโก ซึ่งเป็นเขตที่ยากจนที่สุดของประเทศ

“หากคุณไปถึงที่นั่น” คุณ Nabourema กล่าว “คุณจะเห็นว่าฝ้ายไม่ได้ทำให้ใครรวยขึ้นเลย”

image

ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงก็ต้องทุกข์ทนกับผลกระทบรุนแรงที่สุดของการปรับโครงสร้างนี้ การเหยียดเพศที่อยู่ในนโยบายนี้ “แสดงให้เห็นค่อนข้างชัดในแอฟริกา ซึ่งชาวไร่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง พวกเธอเป็นผู้หาเชื้อเพลิง ไม้ฟืน และน้ำสะอาด” โดยคุณ Danaher ได้เขียนว่าจากการพิจารณาวิเคราะห์ย้อนหลังเมื่อเร็ว ๆ นี้บ่งชี้ว่า “ธนาคารโลกพร้อมจะกล่าวโทษว่าปัญหาต่าง ๆ มาจากการที่พวกผู้หญิงมีลูกเยอะเกินไป มากกว่าที่จะยินดีตรวจสอบนโยบายของตัวเองเสียใหม่”

อย่างที่คุณ Payer ได้เขียนไว้ คนจนมากมายบนโลกที่ยังจนอยู่นั้น “ไม่ใช่เพราะพวกเขาถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือถูกลืมจากผลของความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในประเทศ แต่เพราะพวกเขาเป็นเหยื่อของการปรับเข้าสู่ความสมัยใหม่ต่างหาก หลายคนถูกบีบให้ออกจากพื้นที่เกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ หลายคนถูกยึดที่ดินโดยเหล่าชนชั้นนำที่ร่ำรวยและโดยกลุ่มนายทุนธุรกิจการเกษตรทั้งจากในประเทศและนอกประเทศ ความยากจนข้นแค้นของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ผลักไสพวกเขาออกจากกระบวนการพัฒนา แต่กระบวนการพัฒนาต่างหากที่เป็นต้นเหตุของความยากจนข้นแค้นของพวกเขา”

“แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม” คุณ Payer ได้กล่าวว่า “ธนาคารโลกก็ยังมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง กระบวนการทำการเกษตรของเหล่าฟาร์มขนาดเล็ก โดยนโยบายของธนาคารโลกนั้นชัดเจนมากว่าเป้าหมายหลักคือการนำที่ดินของ ‘ไพร่’ เหล่านี้มายกระดับสู่ภาคการธุรกิจ ด้วยการสร้าง 'ผลผลิตส่วนเกินที่สามารถขายได้' จากการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์”

image

คุณ Payer ได้สังเกตว่าในช่วงระหว่างยุค 1970 และยุค 1980 บรรดาชาวไร่รายย่อยยังสามารถปลูกอาหารเลี้ยงตัวเองได้ และไม่ต้อง “พึ่งพาตลาดเพื่อหาซื้อปัจจัยยังชีพแทบทุกอย่างแบบเดียวกับที่คน ‘สมัยใหม่’ เป็นกัน” แต่อย่างไรก็ตาม คนเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายของนโยบายธนาคารโลกที่ต้องการจะเปลี่ยนสถานภาพพวกเขาให้เป็นผู้ผลิตสินค้าส่วนเกิน และบ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถูกบังคับใช้ด้วยวิถีเผด็จการ

ในคำให้การต่อทางรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาในช่วงยุค 1990 คุณ George Ayittey ได้เน้นย้ำว่า “ถ้าชาติในแอฟริกาสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ พวกเขาจะสามารถประหยัดเงินได้กว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่เคยต้องเสียไปกับการนำเข้าอาหาร โดยเงินจำนวนนี้สามารถนำไปเทียบกับเงินช่วยเหลือจากต่างชาติจำนวน 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่แอฟริกาได้รับจากทุกที่ในปี 1997”

พูดอีกนัยหนึ่ง ถ้าทวีปแอฟริกาสามารถเพาะปลูกอาหารเลี้ยงตัวเองได้แล้ว พวกเขาก็ไม่มีความจำเป็นต้องรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ แต่หากสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศยากจนเหล่านี้ก็ไม่ต้องจ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ฯ เพื่อซื้ออาหารจากประเทศที่ร่ำรวยอีกต่อไป ซึ่งจะทำเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยพวกนั้นหดตัวลง ดังนั้นชาติตะวันตกจึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะทำให้ชาติยากจนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ชาติตะวันตกต้องการเพียงสิ่งเดียวคือกดขี่ชาติยากจนให้เป็นแรงงานทาสของตนต่อไป...


⚡️ กด Zap ที่ลิงก์นี้ เพื่อเป็นกำลังใจทีมงานผู้เรียบเรียงบทความ

(ทุกยอด zap จะถูกแบ่งอัตโนมัติเข้าวอลเล็ทของผู้เขียนบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ, ผู้แปลดราฟต์ 1, ผู้เรียบเรียงดราฟต์ 2-3, กองบรรณาธิการและพิสูจน์อักษรจากไรท์ชิฟต์ พร้อมกันบางส่วนไว้เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรม)


อ่านบทความในฟอร์แมทสวยๆ ได้ที่
Yakihonne| https://w3.do/Fum6CpAN

อ่านในรูปแบบสบายตาได้ที่
Habla | https://w3.do/5nZyMTWv

อ่านจบแล้ว อย่าลืมเข้าร่วมกิจกรรมของพวกเรากันนะครับ อ่านรายละเอียดได้ที่โน๊ตนี้
# ประกาศกิจกรรม #FuckIMF

## กติกา
1. เขียนโน้ตแชร์ไอเดียของคุณว่า ถ้าคุณเป็น IMF และธนาคารโลก คุณจะใช้กลวิธีอะไรสูบเอาทรัพยากรของไทยไปให้ประเทศกลุ่มอีลีท
2. อย่าลืมติดแท็ก #FuckIMF และ #Siamstr
3. สั้นยาวแค่ไหนก็ได้ไม่เกี่ยง จะแฟนตาซีหรือจะดาร์กขนาดไหนก็ได้ จัดมา มาลองมองโลกผ่านสายตาผู้ร้ายกัน!
4. บทความลงวี้กละ 3 ตอนจนครบ 18 ตอน แปลว่าร่วมสนุกได้ 6 ครั้ง (วี้ก) มีผู้ได้รับรางวัลรายวี้กไม่เกิน 3 คนเท่านั้น และเมื่อลงครบ 18 ตอนจะแจกรางวัลใหญ่🔥
5. แจกรางวัลประจำสัปดาห์เมื่อลงบทความตอนใหม่ครบอีก 3 ตอน (เช่น ของวี้กนี้ก็ร่วมสนุกได้จนถึงวันอาทิตย์เลยครับ)
6. ทุกคนที่ร่วมสนุกกิจกรรมนี้จะมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลใหญ่เมื่อจบกิจกรรม

## รางวัล 2 รางวัล
1. Badge สุดเท่ดีไซน์ไม่ซ้ำแค่ละวี้ก วี้กละ 1 ดีไซน์ คนที่ได้ไปคือคุณจะเป็นคนแค่ 3 คนในโลกที่มี Badge นี้ โคตรเท่ (รวมทั้งสิ้น 6 ดีไซน์)


2. หนังสือเล่มโปรดของ ของ และ ที่จะคัดมามอบให้ผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมนี้ 1 ท่าน วิธีเลือกผู้โชคดี เดี๋ยวให้ คิดวิธีสุ่มอีกที 555


ใครอยากร่วมสนุกแต่คิดไอเดียไม่ออก อ่านบทความได้แล้ววันนี้ที่ รับรองปิ๊งกลไกความชั่วช้าของ 2 องค์กรชิงหมาเกิดนี้แน่นอน!

มาร่วมสนุกกันได้เลยยยยยย

ตอนที่ 1 :


ตอนที่ 2 :


ตอนที่ 3 :


วิธีแซ้ปบทความ


#IMF #worldbank #RightShift #RightShiftCuration
Author Public Key
npub1l2cp3t052ljhqnt2emsq5py30qqppj3pytprppc4ygjznhv6lzws99ye04