Why Nostr? What is Njump?
2023-09-16 15:02:18

AdlerNS on Nostr: #FuckIMF #Siamstr จากโจทย์ของ Right Shift ...

#FuckIMF #Siamstr

จากโจทย์ของ Right Shift หากผมเป็น IMF และ ธนาคารโลก คุณจะใช้กลวิธีอะไรสูบเอาทรัพยากรของไทยไปให้ประเทศกลุ่มอีลีทธ

บทความต่อไปนี้เกิดจากจินตนาการของผมล้วน ๆ แต่จะมีประโยชน์ หากใช้ในการป้องกันสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้

เริ่มจากปรัชญาจากซุนวู “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
รู้เขาในที่นี้คือประเทศไทยทรัพยากรที่ประเทศไทยมี และน่าสนใจคืออะไร เท่าที่นึกออกสำคัญ ๆ จะมี 2 อย่าง
1. ภูมิศาสตร์กายภาพ ประเทศไทยมีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ไม่ได้อยู่ในแนวขอบเปลือกโลกที่จะมีภัยพิบัติแผนดินไหว ภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหลาย ๆ ชนิดที่สามารถใช้เป็นอาหารได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ ผืนดินที่ปล่อยไว้เฉย ๆ สามารถมีวัชพืช (ช่วยปรับปรุงดินตามธรรมชาติ) หรือพืชที่ใช้เป็นอาหาร หรือไม้ เกิดและเจริญเติบโตได้ดี
2. ภูมิรัฐศาสตร์ ลักษณะของประเทศไทยเป็นแหลมคั้น 2 มหาสมุทรอินเดีย และ ทะเลจีนใต้ ซึ่งเหมาะสมการส่งผ่าน สินค้า พลังงาน และ การความคุมทางทะเล
รู้เราในที่นี้คือหากเป็น IMF และ ธนาคารโลก
1. มีอำนาจทางการเงิน
2. สามารถยืมมือประเทศกลุ่มอีลีทธ สร้างสถาณการณ์ได้
3. ภาพลักษณ์ของผู้ช่วยเหลือ

จากข้างต้นในบทความนี้ผมเลือกที่จะสูบเอาทรัพยากรจากข้อ 1 ภูมิศาสตร์กายภาพ ในลักษณะครอบงำแต่ไม่ครอบครอง เพราะต้องอาศัยแรงงานจากคนพื้นถิ่น (ทาสสมัยใหม่) เป็นผู้แปลงทรัพยากรทางกายภาพขึ้นมา ขออ้างถึงปัจจัย 4 ที่จำเป้นต่อการดำรงค์ชีพของมนุยษ์ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย อาหารเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญแต่ผู้ผลิตอาหาร (เกษตรกร) นั้นไม่ได้มีชีวิตที่ดี ราคาอาหารตกต่ำ ในขณะที่ยังมีผู้อดอยากอยู่บนโลกนี้ (บังเอิญหรือไม่) แต่ผู้ที่ไม่ได้ผลิตอาหารกับมั่งคั่งขึ้นเรื่อย ๆ เกริ่นมาถึงจุดนี้น่าจะมีผู้คิดแผนร้ายขึ้นบ้างแล้วว่าปัจจุบันเราอาจจะโดนอยู่ก็ได้

แผนการณ์ของวายร้ายเพื่อสูบความั่งคั่งแบบเนียน ๆ ชิว ๆ ค่าใช้จ่ายน้อย
1. ต้องทำให้เกษตรกรพึ่งพา ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ จากกลุ่มอีลีทธ อย่างเลี่ยงไม่ได้ (เดิมทีตามธรรมชาติเกษตรกรไม่ต้องพึงพาภายนอกสามารถจัดการได้เอง)
2. ให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยปัจจัยข้างต้นข้อดีและการเพิ่มผลผลิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอีลีทธ
3. สร้างสถานการณ์ดันราคาที่เกี่ยวกับ เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ เป็นบางครั้งเพื่อกระตุ้นการผลิตและเทตลาดเพื่อให้เกษตรมุ่งสู่การเป็นหนี้จะได้ง่ายต่อการควบคุม (ในการประท้วงรัฐหากรัฐจะกีดกันการนำเข้า ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ จากกลุ่มอีลีทธ หรือ อะไรก็ตาม)
4. สนับสนุนให้รัฐบังคับใช้สิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ (ขอแลกเปลี่ยนในการกู้เงินหรือไม่)
5. กระตุ้นความโลภให้เกษตรกรหันมาเป็นนักลงทุนงง ๆ ในคราบเกษตรกร เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ผู้ที่อ้างว่าเป็นเกษตรกรได้เช่าที่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อปุ๋ย จ้างแรงงาน หรือ จ้างเครื่องจักร ปลูกและเก็บเกี่ยว ซึ่งในกระบวนการนักลงทุนงง ๆ ในคราบเกษตรกรแทบไม่ได้ออกแรงจับจอบและเสียมเลยด้วยซ้ำ สุดท้ายความไม่ถนัดในการลงทุนนำไปสู่การขาดทุนและเป็นหนี้
6. เมื่อเกิดวงจรอุบาทว์ รัฐสวัสดิการจึงต้องเข้าไปอุ้ม เพื่อให้วงจรนี้ยีงหมุนได้ต่อ รัฐต้องกู้เงิน (จาก IMF และ ธนาคารโลก ไหม ? ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ค่าเงินอ่อนค่า
7. จากค่าเงินที่อ่อนค่าปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ จากกลุ่มอีลีทธ ก็ยังขายราคาเดิมในสกุลของกลุ่มอีลีทธ แต่กลุ่มอีลีทธสามารถซื้ออาหารได้ในราคาที่ถูกลง

อุปสรรคของแผนนี้
1. เกษตรกรหันมาพึ่งพาธรรมชาติเดิม ทำปุ๋ยเอง ทำยาปราบศัตรูพืช ใช้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น เลี้ยงพันธุ์สัตว์ท้องถิ่นที่ทนโรคท้องถิ่น ทำอาหารสัตว์เอง แต่ยากเพราะปริมาณผลผลิตจะลดลงเป็นธรรมชาติทำให้ขายได้ลดลง
2. หลักเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงของ ร.9 (ผมเคารพท่านสุดหัวใจ)
ทำให้ควบคุมความโลภของเกษตรกรและเริ่มจากความมีเหตุผลมากขึ้นและพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นลำดับด้วยฐานที่มั่นคง (แต่ก็ถูกบิดเบือนออกไปทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ผู้ฟังก็ไม่พิจารณาว่าจริง ๆ คืออะไรก็เชื่อไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก)

ปล. ขอให้เพลิดเพลินกับการเสพเนื้อหาข้างต้นครับ หากมีจินตนาการมากกว่านี้อาจส่งเพิ่ม
Author Public Key
npub1elf2jggd8tjmp0tdjt2pkfu23q4at4f65kmfj8p86z03gj5pkznqs0mahl